วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 9

บุคคลที่คุณคิดว่าเป็นผู้นำในทัศนคติของคุณ
     


ประวัติ
          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า “มาร์ค” เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน “ความสุขของกะทิ” รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549  เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน นับเป็นช่วงที่อภิสิทธิ์ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำเป็นเวลาหลายปี





          นอกจากหลักสูตรการเรียนที่ท้าทาย กฎระเบียบด้านวินัยที่เข้มงวดแล้ว โรงเรียนที่อังกฤษยังกำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องออกกำลังกายอีกด้วย จึงทำให้อภิสิทธิ์ได้หัดเล่นกีฬาหลายประเภท และที่ถนัดมากที่สุดคือ ฟุตบอล ซึ่งได้กลายเป็นกีฬาที่โปรดปราน ของอภิสิทธิ์มาจนถึงทุกวันนี้ อภิสิทธิ์เป็นผู้ที่ติดตามการแข่งขันฟุตบอล ของสโมสรต่างๆ ในอังกฤษ (เป็นแฟนที่เหนียวแน่น ของสโมสรนิวคาสเซิล) และการแข่งขันระดับโลกสำคัญๆ มาตลอด (เป็นผู้ที่สามารถวิจารณ์ผู้เล่น ครูฝึกสอน และผู้จัดการของทีมฟุตบอลต่างๆ ได้คมชัดอย่างที่ไม่มีใครนึกถึง)  ในช่วงเวลาที่ว่างจากการเรียน และการเล่นกีฬา อภิสิทธิ์ก็ผ่อนคลายด้วยการฟังดนตรีแนวร็อค ตั้งแต่ป๊อปร็อคไปจนถึงเฮฟวี่เมทัล โดยมีวงดนตรีที่โปรดปรานหลายวง เช่น อาร์อีเอ็ม อีเกิ้ลล์ และโอเอซิส ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งหลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย
ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกนายอภิสิทธิ์ว่า “ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ในบางครั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)


 การรับราชการทหาร

           ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่านายอภิสิทธิ์ไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร พร้อมทั้งแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกให้กับพรรคประชาธิปัตย์และสื่อมวลชน เรื่องดังกล่าวมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในช่วงรัฐบาลนายชวน หลีกภัย 1 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายอภิสิทธิ์ได้เคยแถลงว่า ตนเคยรับราชการทหาร เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี โดยการเป็นอาจารย์ที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คำแถลงของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยืนยันจากกองทัพในขณะนั้นว่าเป็นความจริง แต่เนื่องจากการเข้ารับราชการ ต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร จึงเกิดข้อกังขาว่า หากนายอภิสิทธิ์ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร เหตุใดจึงสามารถสมัครเข้าเป็นอาจารย์ ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ เรื่องดังกล่าว นายอภิสิทธิ์เคยแถลงเพียงว่า เป็นอำนาจวินิจฉัย และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานในขณะนั้น ในอีกทางหนึ่งเรื่องนี้เคยมีความเห็นจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2542 ว่าในครั้งนั้น นายอภิสิทธิ์ สมัครเข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยขาดส่งหลักฐานทางทหาร ซึ่งมีฐานความผิดเพียงโทษปรับ และมีความเห็นว่านายอภิสิทธิ์ ได้เข้ารับราชการทหารแล้วช่วงเวลาเดียวกันมีความเห็น จากแหล่งข่าวในกองทัพ ว่ากองทัพบกมีเอกสารต้นขั้ว สด.๙ ที่ออกให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อบรรจุเป็นทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 จริง และมีเอกสาร สด.๑ ของสัสดีที่ยืนยันการรับ สด.๙ ด้วย อย่างไรก็ดี แม้นายอภิสิทธิ์ไม่มารับการตรวจเลือกและไม่ได้รับ สด.๔๓ แต่เมื่อไปรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ถือว่ามีฐานะเป็นทหารแล้ว เพียงแต่ไม่ไปแจ้งให้พ้นบัญชีคนขาดเท่านั้น




ประวัติการทำงาน


พ.ศ. 2530 – 2531 อาจารย์ประจำ (ยศร้อยตรี) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เขาชะโงก จังหวัดนครนายก
พ.ศ. 2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2533 – 2534 อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

ประวัติการทำงานทางการเมือง


           นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ นายพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส “มหาจำลองฟีเวอร์” กับการเป็นนักการเมือง “หน้าใหม่” ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก สามารถลำดับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ได้ดังนี้
พ.ศ. 2535ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 (สาธร ยานนาวา บางคอแหลม) 2 สมัย (2535/1 และ 2535/2)
ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535-2537)
พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538 ส.ส. เขต 5 (ดินแดน ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2538-2539)
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2538-2540)
พ.ศ. 2539 ส.ส. เขต 5 (ดินแดน ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกฯ ชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540-2544)
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2542-2548)
พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2544-2548)
พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548-2549)
ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน)
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (28 เมษายน พ.ศ. 2548)
พ.ศ. 2551 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
พ.ศ. 2551 ได้รับการลงคะแนนเสียงจากสภาฯ ให้เป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2551)


ผลงานทางการเมือง
          ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 นายอภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทย ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 43 โดยนายอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแล ทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดัน ให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกาศใช้  ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า นายอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง  นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช. , ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง  การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
จากผลงานการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองดังกล่าว ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2549


บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง

             ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมี รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ
วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษา ว่าการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า “มาร์ค” ถูกกลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งฉายาให้ว่า “มาร์ค ม.7″ ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “คดียุบพรรค” และศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 3 คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย

 การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


             เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1/2551 โดยระเบียบวาระสำคัญ คือการเลือกนายกรัฐมนตรีแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก คดียุบพรรคการเมือง โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ และนายเสนาะ เทียนทอง เสนอชื่อพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก  ต่อมา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ขานชื่อเพื่อโหวตเลือกนายกฯ โดยนายอภิสิทธิ์มีคะแนนเสียงสนับสนุน 235 เสียง ขณะที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีเสียงสนับสนุน 198 เสียง โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานในที่ประชุม นายอภิสิทธิ์ และนายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา งดออกเสียง  สำหรับผลการโหวตที่น่าสนใจ คือ พล.ต.อ.ประชา ลงมติสนับสนุนตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจชาติพัฒนา ลงมติสวนมติพรรคสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ งดออกเสียง ซึ่งภายหลังการลงมติ พล.ต.อ.ประชา เดินเข้ามาจับมือ นายอภิสิทธิ์ แสดงความยินดีด้วย สำหรับ ส.ส.ในสังกัดกลุ่มเพื่อนเนวิน ที่สนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย
- นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.เขต 2 บุรีรัมย์
- นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ส.ส.เขต 1 พิษณุโลก
- นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ส.ส.เขต 3 บุรีรัมย์
- นายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.เขต 3 บุรีรัมย์
- นายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.เขต 4 บุรีรัมย์

- นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.เขต 3 ขอนแก่น

- นายภิรมย์ พลวิเศษ ส.ส.เขต 5 นครราชสีมา

- นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.เขต 6 นครราชสีมา

- นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.เขต 1 นครพนม

- นายวีระ รักความสุข ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 3

- นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 3

- นายเพิ่มพูน ทองศรี ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 4

- นางพัฒนา สังขทรัพย์ ส.ส.เขต 1 เลย

- นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ ส.ส.เขต 1 อุดรธานี

- นายสุชาติ โชคชัยวัฒนาการ ส.ส.เขต 2 มหาสารคาม

- นายประจักษ์ แก้วกล้าหาญ ส.ส.เขต 1 ขอนแก่น

- นายวิเชียร อุดมศักดิ์ ส.ส.เขต1 อำนาจเจริญ

- ขณะที่ นายชัย ชิดชอบ งดออกเสียง โดยระบุว่า เพื่อความเป็นกลาง

 
ผลงานหนังสือ

มาร์ค เขาชื่อ… อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9
การเมืองไทยหลังรัฐประหาร. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-88195-1-8

เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรไม่ถูกฉีก. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-7310-66-5

ร้อยฝันวันฟ้าใหม่. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-8494-81-4


เกียรติยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2535 : ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2536 : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2538 : ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2540 : ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2541 : มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2542 : มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
การได้รับการจัดอันดับในระดับนานาชาติ
พ.ศ. 2535 : 1 ใน 100 ผู้นำสำหรับโลกวันพรุ่งนี้, โดย World Economic Forum (องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมืองของโลก)
พ.ศ. 2540 : 1 ใน 6 นักการเมืองที่เป็นความหวังของเอเซีย, โดย นิตยสารไทม์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2540, “เสียงใหม่ๆ เพื่อเอเซียใหม่”
พ.ศ. 2542 : 1 ใน 20 ผู้นำสำหรับสหัสวรรษ ด้านการเมือง, โดย นิตยสารเอเซียวีค 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
อภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่หนุ่มสุดในประวัติศาสตร์ไทยจริงหรือ
มาถึงตรงนี้ หลายคนคงคิดว่า ยังไงเสีย “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เวลานี้ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุอานามน้อยที่สุดแล้วสิ เฉลย…ทุกท่านคิดผิดแล้วล่ะ  ย้อนประวัติศาสตร์ไปสมัย “จอมพลแปลก พิบูลสงคราม” หรือที่รู้จักกันในนาม “จอมพล ป.” นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของไทย ซึ่งเป็นผู้รั้งเก้าอี้นายกฯ ยาวนานที่สุด ถึง 8 สมัย เลยก็ว่าได้ เพราะรวมกันมากถึง 14 ปี 11 เดือน 18 วัน จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เป็นหนึ่งในคณะนายทหารผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยเป็นนายทหารรุ่นน้อง พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 2 ปี ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก มีบทบาทสำคัญในการปราบกบฏบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. 2476 จนได้รับความไว้วางใจ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขณะมีอายุแค่เพียง 41 ปี เมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ.2481 ก่อนที่จะสิ้นสุดยุคของจอมพล ป. ด้วยการถูกทำรัฐประหาร ในสมัยที่ 8 ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2500
แต่ใช่ว่า มาถึงเวลานี้ จอมพล ป. จะเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ไม่ เพราะจากการสืบค้นข้อมูล ก็พบว่า ยังมีอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งคาดว่า น่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่ เริ่มดำรงตำแหน่งด้วยอายุที่น้อยที่สุด คือ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชห อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของไทยที่ครองตำแหน่งมาได้ถึง 4 สมัย เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 และเป็นพี่ชายของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้น้อง ที่มีความสามารถในหลายสาขา โดยสื่อมวลชนนิยมเรียก ท่านทั้งคู่ว่า “หม่อมพี่ หม่อมน้อง” ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เส้นทางก่อนเข้าสู่วงการเมือง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ม.ร.ว.เสนีย์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ในฐานะหัวหน้าเสรีไทย สายสหรัฐอเมริกา ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจาก นายควง อภัยวงศ์ เพื่อเจรจากับประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับสถานะของประเทศไทย ที่เป็นฝ่ายเดียวกับสัมพันธมิตร ภายหลังการประกาศสันติภาพ โดยรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ให้การประกาศสงคราม กับฝ่ายสัมพันธมิตร ของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นโมฆะ โดยเดินทางกลับมารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 และขณะนั้นเขามีอายุ แค่ 40 ปี เท่านั้น จากบันทึกประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า นายกรัฐมนตรี ผู้มีอายุน้อยที่สุด คือ “ม.ร.ว.เสนีย์” หาใช่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ไม่ แต่สิ่งที่ทั้ง 2 คนเหมือนกัน คงมาจากเส้นเลือดใหญ่ ที่หล่อเลี้ยงมาจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเก่าแก่ยาวนานคู่ระบบพรรคการเมืองไทยมากกว่า





การศึกษา

- ปริญญาตรีด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

- ปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

- ปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ประวัติการทำงาน
- อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ
- อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น