วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 6

ให้นักศึกษาศึกษาวัฒให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้


1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร

ตอบ วัฒนธรรมองค์กร คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ


2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ตอบ การที่คนเราจะอยู่ในสถานที่ใด สังคมใด เราควรที่จะศึกษาวัฒนธรรมของสิ่งเหล่านั้นให้ดีและปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้นๆให้ได้ โดยมีลักษณะดังนี้
1.เราควรศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคล ศาสนาที่ประชาชนในที่นั้นนับถือ
2.เราควรศึกษาลักษณะอาชีพส่วนใหญ่ในพื้นที่
3.เราควรศึกษาประเพณี วัฒนธรรมที่มีในพื้นที่


3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตอบ การที่จะทำให้เกิดวัฒนธรรมของการทำงานเป็นทีมได้นั้นเราต้องมีหลักดังต่อไปนี้
1.รับฟังมุมมองที่แตกต่าง ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง มีเหตุผล ไม่คิดว่า ความคิดของตนเองถูกแล้ว ดีแล้วเสมอ ไม่คิดว่า ความคิดของคนอื่นผิด หรือ ผิดทั้งหมดเสมอ ไม่พูดจาหรือแสดงออกที่เป็นการดูถูกผู้อื่น
2.ไม่ตีกรอบการทำงานของตัวเอง แต่จะพิจารณาถึงเป้าหมาย / หลักการ ถ้าเป็นการเพิ่ม Performance ให้กับตัวเองและส่วนรวม จะลองเอาไปคิดและทำดู
3.ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นยอมรับและหาวิธีการที่ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ไม่เอาแพ้ – ไม่เอาชนะกัน)
4.ไม่หนีปัญหา แต่จะจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา


4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ตอบ การเรียนรู้นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้ในองค์การมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการ เป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งแนวคิดและหลักการของการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์การที่สำคัญมีดังนี้
1.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ ( learning ) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งอย่างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2.หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ทฤษฎีการเรียนการสอนของผู้ใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้ใหญ่แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ ทฤษฎีดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อ4ประการ คือ
• มโนทัศน์ของผู้เรียน ( Concept of the Learner )
• บทบาทของประสบการณ์ของผู้เรียน ( Roles of Learners Experience )
• ความพร้อมที่จะเรียนรู้ ( Readiness to Learn )
• การนำไปสู่การเรียนรู้ ( Orientation to Learning )
3.ประเภทของการเรียนรู้ประเภทของการเรียนรู้สามารถจำแนกประเภทของการเรียนรู้ออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ
   1. การเรียนรู้โดยการจำ เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามจะรวบรวมหรือเก็บเนื้อหาสาระจากสิ่งที่ต้องการจะเรียนให้ได้มากที่สุด
   2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดนที่ผู้เรียนพยายามลอกเลียนแบบ หรือกระทำตามต้นแบบที่ตนเห็นว่าดีหรือเป็นประโยชน์แก่ตน3.การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ขั้นตอนของการเรียนรู้ประเภทนี้จะเดขึ้น
   3 ขั้นดังนี้
      • ผู้เรียนมองเห็นหรือมีปฏิกิริยาต่อส่วนรวมของสถานการณ์ทั้งหมดก่อน
      • ผู้เรียนแยกแยะส่วนรวมเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้นๆ
      • ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสถานการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้งเรียกว่า เกิดการหยั่งรู้ ( insight )
  4.การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามใช้ทางเลือกหลายๆ ทางเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น
  5.การเรียนรู้โดยการสร้างมโนคติ การเรียนรู้โดยการสร้างความคิดรวบยอด







ใบงานที่ 5

ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ


1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา

ตอบ การรู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันแก่กัน ทำให้อยู่ร่วมกัน มีระดับเสมอกัน ทัดเทียมกัน ไม่แตกต่างกันมาก เผื่อแผ่ทรัพย์สินเงินทอง ให้ปันความรู้วิชา ให้ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีน้ำใจต่อกัน การผูกมิตรไมตรีกันไว้เป็นสิ่งดี คอยตักเตือนเมื่อจะทำผิด หรือเมื่อมีภัยมา คอยสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน การแสดงน้ำใจอันดีต่อกัน คนเราเมื่อเกิดความเห็นใจกันแล้ว ก็พร้อมที่จะให้อภัยเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น เราก็อยู่กันด้วยดี ต้องมีความจริงใจต่อกัน ไม่ใช่ปากพูดอย่าง ใจคิดไปอีกอย่าง ต่างคนต่างระแวงกัน ต่างคนต่างระวังตัว เช่นนี้แล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร ตัวอย่าง ตอนเข้ามาอยู่หอพักจะมีการประชุมและสร้างกฎระเบียบร่วมกันแล้วจะมีการรับน้อง เพื่อให้นักศึกษารู้จักกันและรู้จักความสามัคคี



2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

ตอบ การทำงานเป็นกลุ่มเป็นการฝึกการทำงานเป็นทีมที่สมาชิกทุกคนต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบ เพราะแต่ละคนต้องรับผิดชอบในภาระงานที่ได้รับมอบหมายและทำงานนั้นออกมาให้ดีที่สุด ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ฝึกการให้อภัยซึ่งกันและกัน ฝึกความสามัคคีภายในกลุ่ม เป็นต้น
        การทำงานเป็นกลุ่ม คือ การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นกลุ่ม มีความสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงาน การทำงานเป็นกลุ่มมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดีตัวอย่าง การที่เราทำงานร่วมกันนั้นเรา เราไม่ควรยึดตัวเองเป็นหลัก เราควรจะลงความคิดเห็นร่วมกันและช่วยกันคิด ช่วยกันตรวจสอบงานที่จะส่งเพื่อให้มีการผิดพลาดน้อยที่สุด



3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร

ตอบ หากเราทะเลาะกันเราควรนำหลักในการสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไปใช้และฝึกฝนใช้อยู่เป็นประจำ ได้แก่
- สร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น รู้จักเข้าใจ และเห็นใจความรู้สึกของผู้อื่น
- ใช้การสื่อวารที่มีประสิทธิภาพ รู้จักสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ฝึกการเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดีและไม่ลืมที่จะใส่ใจความรู้สึกของผู้ฟังด้วย
- แสดงความมีน้ำใจรู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการให้และรับ
- ให้เกียรติผู้อื่นอย่างจริงใจ รู้จักยอมรับในความสามารถของผู้อื่น
- แสดงความชื่นชมให้กำลังใจซึ่งกันและกันและรู้จักการแสดงออกให้เหมาะสมตามวาระโอกาส ถ้าเรานำหลักการดังนี้ไปใช้แล้ว เราและคนที่เรารู้จักจะไม่เกิดการทะเลาะกันหรือถ้าทะเลาะกันแล้ว แต่นำหลักการนี้ไปใช้ก็จะทำให้ความสัมพันธ์กลับมาเป็นเช่นเดิมได้อย่างแน่นอน



วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 4

ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังนี้

1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
ตอบ 1. มีอุดมการณ์ที่แน่นอน และสมาชิกทุกคนยอมรับ
2. ยึดมั่นในความถูกต้อง
 3. ใช้หลักการประนีประนอม
4. ถือหลักการให้อภัยระหว่างกันเสมอ
5. มีสำนึกในเรื่องสัดส่วนการปฏิบัติงาน ไม่เอาเปรียบกัน
6. ถือว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
7. เคารพในสิทธิและเสรีภาพส่วนตัวของเพื่อนสมาชิก
8. ถือหลักการไม่มุ่งเอาเด่นคนเดียว แต่ต้องดีร่วมกันทั้งทีม
9. รู้จักมองปัญหาให้เป็นเรื่องธรรมดา
10. เปิดใจกว้างระหว่างกัน
11. รู้จักแบ่งงาน และประสานงาน
12. มีความเป็นอิสระในการทำงานพอสมควร
13. ถือการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัดเสมอ
14. ยอมรับผิดเมื่อทำผิด
15. เมื่อมีความขัดแย้งต้องถือหลักการปรับมุมมองที่อาจแตกต่างกัน ให้มองในมุมมองเดียวกันได้




ใบงานที่ 3

ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้

1.ความหมายองค์กรและองค์การ
ตอบ องค์กร หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกันและกัน
        องค์การ หมายถึง การทำงานร่วมกันระหว่างคน 2 คนขึ้นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันบางประการที่ได้มีการวางแผนการประสานงานไว้ล่วงหน้าแล้ว การทำงานของกลุ่มคนดำเนินการไปอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน โดยอาศัยหลักการแบ่งแยกงาน และหลักลำดับชั้นของอำนาจ


2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ 1.ผู้ส่งสาร (Sender)
2.ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง


3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง

ตอบ เครือข่ายของการสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1.เครือข่ายของการสื่อสานอย่างเป็นทางการ เป็นการสื่อสารตามระเบียบแบบแผนที่องค์กรกำหนดขึ้น เช่นบันทึก สิ่งพิมพ์ รายงานประจำปี การแถลงข่าว เป็นต้น
2.เครือข่ายของการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ เป็นลักษณะของการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างไม่เป็นแบบแผนตายตัว เช่นการพูดคุยซุบซิบ เล่าเรื่องเบื้องต้นการทำงานsหรือการสังเกตวิธีการปฏิบัติตัวของสมาชิก


4.วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ วัตถุประสงค์ของการสื่อสารได้จำแนก ไว้ดังนี้
1.เพื่อแจ้งให้ทราบหรือเพื่อทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2.เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุงจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งไปที่การเรียนการสอน หรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ โดยเฉพาะ
3.เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีนำเสนอเป็นที่พอใจ
4.เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม


5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูสามารถนำการสื่อสารไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการสอนนักเรียน การติดต่อกับอาจารย์ท่านอื่นภายในโรงเรียนและต่างโรงเรียน เพราะฉะนั้นการสื่อสารที่นำไปใช้นั้นจะมีทั้งการสื่อสารอย่างเป็นทางการและการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ



ใบงานที่ 2

เรื่อง ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา

1. นักศึกษาให้ความหมายผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร


ตอบ  ผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันดังต่อไปนี้
ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ ความสมัคร3สมานสามัคคีกัน ปฏิบัติการ และอำนวยการให้งานเจริญก้าวหน้า และ บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ


ใบงานที่ 1

ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา


1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ การบริหาร หมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
        การบริหาร หมายถึง การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
        การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม
       การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)และคำว่า “สถานศึกษา” หมายความ ว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา)

2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
    ตอบ ศาสตร์คือ สามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีกฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฎีที่เชื่อถือได้
   ศิลปะคือ การนำมาใช้หรือประยุกต์ใช้หรือการนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์

3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
    ตอบ ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
    ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ (Scientific Management)ของ เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
      เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
         1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
         2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
         3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล์ (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ ดร.วิชัย ตันศิริ ได้นำเสนอในหนังสือ อุดมการณ์ทางการศึกษาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดังนี้
       2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
       2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
       2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
       2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
       2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
      2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
      2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ (Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
      3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
      3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
      3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
      3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
      3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
      ระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
      1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
      2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
      3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
          การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
      1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
      2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
      3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก* ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*
         ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
         เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I. Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
    
4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
    ตอบ ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
             ทฤษฏีภาวะผู้นำ แยกออกได้เป็นทฤษฏีผู้นำตามคุณลักษณะ ผู้นำต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นผู้นำทฤษฏีผู้นำตามตัวแบบของวรูม เยตตัน และแจโก มุ่งวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ด้านสถานการณ์ ว่ามีผลกระทบต่อระดับความร่วมมือของพนักงานมากน้อยเพียงไรทฤษฏีภาวะผู้นำ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ แยกได้เป็นทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ ทฤษฏีพฤติกรรมผุ้นำ และทฤษฏีตามสถานการณ์
            ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
            ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
        1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
        2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
        3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
       4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
       5. คนมักโง่ และหลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
           ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
       1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
       2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
       3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
       4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
      
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
     ตอบ มีอยู่มากมาย อาทิ
              ทฤษฏีความต้องการ 5 ขั้นของอับราฮัม มาสโลว์ ได้แก่ ความต้องการด้านกายภาพ ความปลอดภัย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ และความต้องการสำเร็จสมหวังในชีวิต
              ทฤษฏีความต้องการ 5 ขั้นของอีริค ฟรอมม์ มนุษย์มีความต้องการ 5 ประการ ได้แก่ มีสัมพันธภาพ สร้างสรรค์ มีสังกัด มีเอกลักษณ์แห่งตน และมีหลักยึดเหนี่ยว
              ทฤษฏีความต้องการความสัมฤทธิ์ผลของแมคเคลแลนด์ มนุษย์มีความต้องการ 3 ด้าน ได้แก่ ความสำเร็จ อำนาจ และความต้องการทางสังคม
              ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้
              ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Ego และ Superego
              ทฤษฏีสององค์ประกอบของเฟรเดอริค เฮอร์ซเบิร์ก แรงจูงใจของมนุษย์เกิดขึ้นจากปัจจัยสองอย่าง ได้แก่ สิ่งทำให้เกิดความไม่พอใจและสิ่งที่ทำให้เกิดความพอใจ

ประวัติ

                                                     
ชื่อเสียงเรียงนาม  กิติยา  ปลอดภัย


ชื่อเล่น                  โส


วันเดือนปีเกิด       วันจันทร์  ที่ 6  เดือนมิถุนายน  พ.ศ.2531


อาศัยอยู่ที่            บ้านบ่อกรูด  หมู่ที่ 6  ตำบลกลาย 
                             อำเภอท่าศาลา  จังหวัดนครศรีธรรมราช


คิดถึงก็โทรมานะ  084-8443590

E-mail  kitiya_soso@hotmail.com
             kitiya.kitiya.plodpai@gmail.com


ประวัติทางด้านกาารศึกษา 
อดีต          ชั้นประถมศึกษา                   โรงเรียนบ้านบ่อกรูด
                 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น        โรงเรียนสระแก้วรัตนวิทย์
                 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย    โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา


ปัจจุบัน  กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัชนครศรีธรรมราช
              ชั้นปีที่ 3  หลักสูตรคณิตศาสตร์  คณะครุศาสตร์